ASF ต้องคลอรีนไดออกไซด์ (ClO2)

ASF ต้องคลอรีนไดออกไซด์ (ClO2)

     น้ำ...สำคัญอย่างไร ? เป็นที่ทราบกันดีว่าสัตว์กินน้ำมากกว่าอาหาร 2-3 เท่า ดังนั้น หากน้ำไม่สะอาดคงหนีไม่พ้นที่จะทำให้สัตว์ป่วยได้นะครับ ยิ่งในกรณีของ ASF แล้วมีข้อมูลบอกว่าโอกาสติดเชื้อจากการกินน้ำใช้ปริมาณเชื้อโรคน้อยกว่าการติดจากการกินอาหารเป็นหมื่นเท่า ดังนั้น การป้องกันเชื้อที่จะมากับน้ำกินน้ำใช้ในฟาร์มจึง เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เพราะเชื้อมีโอกาสปนเปื้อนมากับน้ำได้หลายทาง ทั้งการนำน้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะมาใช้ หรือแม้แต่สัตว์อื่นนำเชื้อมาปนเปื้อนในน้ำ เช่น นก หนู แมลงวัน แมลงสาบ เป็นต้น
 

     คลอรีนฆ่าเชื้อ ASF ได้หรือไม่ ? เราคุ้นเคยการใช้คลอรีน (แบบเดิม) สำหรับการฆ่าเชื้อในน้ำกินน้ำใช้มานานมากๆ ซึ่งก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการฆ่าเชื้อในน้ำกินน้ำใช้ (ถ้าน้ำดิบมีค่า pH ไม่เกิน 7) แต่ในกรณีของ ASF คลอรีนคงไม่ใช่ทางเลือกสำหรับการฆ่าเชื้อในน้ำอีกต่อไป เพราะมีรายงานว่าต้องใช้ความเข้มข้นไม่น้อยกว่า 3,000 ppm. ขึ้นไป จึงจะสามารถฆ่าเชื้อ ASF ได้ เพราะเป็นเชื้อที่มีขนาดเซลล์ที่ใหญ่ และผนังเซลล์หนา แน่นอนว่าความเข้มข้นสูงขนาดนั้นสัตว์คงไม่สามารถกินน้ำได้แน่นอน คงเหมาะสำหรับการฆ่าเชื้อตามพื้นหรือสิ่งแวดล้อมได้เท่านั้น
 

     มีทางเลือกอื่นมีบ้างไหม ? มีการกล่าวถึงสารเคมีหรือวิธีการต่างๆ ที่จะใช้ฆ่าเชื้อ ASF ในน้ำกินน้ำใช้สำหรับฟาร์มสุกร อย่างเช่น โอโซน (O3), แสงยูวี (Ultraviolet), ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide), กรดเปอร์อะซิติก (Peracetic acid) และกรดอะซีติก (Acetic acid) ซึ่งแน่นอนว่าหาก ใช้ถูกต้องเหมาะสมก็คงสามารถฆ่าเชื้อ ASF ได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องพิจารณาเรื่องความสะดวกในการใช้งาน การฆ่าเชื้อได้ทั้งหมดตลอดเส้นทางของระบบน้ำหรือไม่ และที่สำคัญคือต้นทุนที่แท้จริงของการผลิตน้ำต่อลิตร เพราะแต่ละทางเลือกก็มีข้อจำกัด
 

     คลอรีนไดออกไซด์ช่วยได้ไหม ? คลอรีนไดออกไซด์ (ClO2) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะเป็นสารที่ใช้ในน้ำประปาในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงการใช้สำหรับการเตรียมน้ำในอุตสาหกรรม เช่น น้ำอัดลม เบียร์ และเครื่องดื่มต่างๆ เพราะมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่สูงกว่าคลอรีนเดิมที่เราคุ้นเคยมากๆ นอกจากนี้ คลอรีนไดออกไซด์ยังมีวิธีการใช้ที่ไม่แตกต่างกับคลอรีนแบบเดิม ทำให้สะดวกและมีความเป็นไปได้ในการใช้จริงในฟาร์ม
 

     คลอรีนไดออกไซด์ฆ่าเชื้อ ASF ได้ไหม ? คลอรีนไดออกไซด์ ถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับการใช้ในภาคปศุสัตว์ ทำให้ไม่ค่อยมีงานวิจัยหรือผลการทดลองกับเชื้อที่ก่อโรคในสัตว์มากเท่ากับสารเคมีอื่น แต่ทั้งนี้ด้วยคุณลักษณะของคลอรีนไดออกไซด์ซึ่งเป็นแก๊สที่ละลายอยู่ในน้ำ มีความสามารถทะลุทะลวงได้สูง สามารถทำลายผนังเซลล์ของเชื้อโรคที่มีสปอร์หรือเปลือกหนาได้ดีกว่าสารเคมีอื่นๆ มีงานวิจัยพบว่า คลอรีนไดออกไซด์ความเข้มข้นเพียง 1.3 พีพีเอ็ม. สามารถฆ่าเชื้อ คริปโตสปอริเดียม พาร์วูม (Cryptosporidiumparvum Oocysts) ที่มีขนาดเซลล์ใหญ่และผนังเซลล์หนาได้ ในขณะที่คลอรีนธรรมดาไม่สามารถฆ่าได้ในระดับความเข้มที่ใช้สำหรับน้ำกินน้ำใช้ ดังนั้นมีความเป็นไปได้สูงว่าคลอรีนไดออกไซด์น่าจะสามารถฆ่าเชื้อ ASF ที่มีขนาดใหญ่และผนังเซลล์หนาได้เช่นกัน...
 

อ่านบทความฉบับเต็ม

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  and  นโยบายคุกกี้